วันอังคารที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ทองหยอด

ขนมหวานไทย : ขนมทองหยอด
ขนมหวานไทย : ขนมทองหยอด
ขนมทองหยอด

ส่วนผสม

     -ไข่เป็ด 18 ฟอง

     - แป้งทองหยอด 1 ถ้วยตวง (หรือแป้งข้าวเจ้า)

     - น้ำตาลทราย 5 ถ้วยตวง

     - น้ำลอยดอกมะลิ 5 ถ้วยตวง


วิธีทำ

     1. ผสมน้ำลอยดอกไม้กับน้ำตาลทรายลงในกระทะทองเหลือง แล้วนำไปตั้งไฟแรงให้เดือด เคี่ยวทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที จากนั้นจึงแบ่งน้ำเชื่อมส่วนหนึ่งออกมาสำหรับแช่ทองหยอดที่สุกแล้ว

     2. ต่อยไข่ แยกไข่ขาวออก ใช้เฉพาะไข่แดง โดยนำไข่แดงไปกรองในผ้าขาวบางเพื่อรีดเอาเยื่อออก จากนั้นจึงตีไข่แดงให้ขึ้นฟู จากนั้นค่อยๆผสม แป้งทองหยอดลงไปและคนให้แป้งและไข่แดงเข้ากัน


     3. นำไข่แดงที่ผสมแป้งเรียบร้อยไปหยอดในน้ำเชื่อม สำหรับวิธีหยอดนั้นให้ใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง หยิบส่วนผสมมาเป็นลูกขนาดพอประมาณ แล้วจึงสบัดลงไปในน้ำเชื่อม ทำเช่นนี้จนเต็มกระทะทองเหลือง จากนั้นรอจนทองหยอดสุกจึงตักออกมาพักใส่ในน้ำเชื่อมที่แยกไว้ก่อนหน้านี้ (ทองหยอดที่สุกจะลอยขึ้น)

     4. จัดทองหยอดใส่จานเสริฟเป็นของว่างหรือของทานเล่นในวันพักผ่อนสบายๆ

ขนมตะโก้


สูตรขนมตะโก้

ส่วนผสม (สำหรับทำตัวตะโก้)

    - แป้งถั่วเขียว 1 ถ้วยตวง

    - น้ำกลิ่นมะลิ 3 ถ้วยตวง

    - น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง

    - น้ำใบเตยคั้น 1/2 ถ้วยตวง

    - แห้วต้มหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1/2 ถ้วยตวง

    - กระทงหรือแบบสำหรับใส่ขนม

ส่วนผสม (สำหรับทำตัวตะโก้)

    - แป้งข้าวเจ้า 1/2 ถ้วยตวง

    - กะทิ 2 ถ้วยตวง

    - เกลือป่น 1 ช้อนชา


วิธีทำ

1. เตรียมทำตัวตะโก้ โดยผสมแป้งถั่วเขียว, น้ำตาลทราย, น้ำใบเตยและ น้ำกลิ่นมะลิ เข้าด้วยกันในหม้อ และนำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง กวนจนสุกและข้น

2. จากนั้นใส่แห้วจีนต้มที่หั่นเตรียมไว้ลงไปในหม้อ กวนต่ออีกสักครู่จึงปิดไฟ ตักตัวตะโก้หยอดในกระทงหรือแบบพิมพ์ที่เตรียมไว้ประมาณครึ่งนึงของแบบ

3. เตรียมทำหน้าตะโก้ โดยผสมแป้งข้าวเจ้า, กะทิ และเกลือป่น เข้าด้วยกันในหม้อขนาดเล็ก จากนั้นนำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง กวนจนข้นพอดี จึงปิดไฟ

4. หยอดหน้าตะโก้ลงบนกระทงหรือแบบให้เต็ม ทิ้งไว้ให้เย็น จัดใส่จานเสริฟเป็นของว่างได้ทันที

ทับทิมกรอบ


การทำทับทิมกรอบสูตรโบราณ

ส่วนผสม

     - เนื้อแห้ว จะใช้แห้วต้มหรือแห้วดิบที่ปอกเปลือกไว้แล้วนำมาต้มก็ได้ (มีขายแบบสำเร็จรูป)

     - น้ำตาลทราย

     - กะทิสด

     - เกลือป่น

     - น้ำหวานสีแดง

     - เทียนอบ

     - มะพร้าวกะทิ หรือมะพร้าวอ่อน

     - ใบเตย

     - เปลือกไข่

     - แป้งมัน

    - น้ำแข็งบดละเอียด


วิธีทำทับทิมกรอบรวมมิตร

      1. ขั้นตอนแรกทำน้ำเชื่อม นำน้ำตาลทรายใส่ภาชนะเติมน้ำแล้วตั้งไฟเคี้ยวไฟกลางใส่ใบเตยที่เตรียมไว้เพื่อให้มีกลิ่นหอม และใส่เปลือกไข่ลงไปเพื่อให้น้ำเชื่อมสีสวยใส เคี้ยวจนน้ำเชื่อมข้นแล้วนำมากรองด้วยผ้าขาวบางแล้วพักไว้

      2. ขั้นตอนการทำทับทิมกรอบ นำแห้วมาหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป จากนั้นนำมาคลุกกับน้ำหวานสีแดงทิ้งไว้สักพัก แล้วนำมาคลุกกับแป้งมันที่เตรียมไว้ แล้วนำไปล่อนในตระเกรงเพื่อให้เศษแป้งมันหลุดเหลือแต่เม็ดทับทิมกรอบที่คลุกแป้ง

      3. ขั้นตอนการลวกทับทิมกรอบ นำภาชนะใส่น้ำตั้งไฟพอเดือน ใส่ทับทิมกรอบที่คลุกแป้งลงไปหากทำมากไม่ควรใส่ลงไปพร้อมๆกันทั้งหมด ให้ค่อยๆลวกไปที่ละน้อยจะทำให้ได้ทับทิมกรอบที่สวยแป้งไม่สุกมากเกินไป เมื่อใส่ทับทิมกรอบลงไปแล้วรอให้เม็ดทับทิมลอยตัวขึ้นมา ถึงแม้จะแป้งมันจะไม่สุกยังเป็นสีขาวๆอยู่ก็ต้องตักขึ้นแช่ในน้ำเย็น เพราะความร้อนจะทำให้แป้งมันที่หุ้มเม็ดทับทิมสุกพอดี

      4. ขั้นตอนการทำกะทิสด ควรซื้อมะพร้าวแบบขูดมาคั้นเองโดยนำใส่เครื่องปั่นแล้วนำมากรองด้วยผ้าขาวบาง จะทำให้ได้หัวกะทิที่เข้มข้น จากนั้นนำกะทิที่ได้ขั้นตั้งไฟใช้ไฟอ่อนๆเติมเกลือเล็กน้อยพอมีรสเค็ม คนไม่ให้กะทิแตกมันจนรู้สึกว่ากะทิสุก ยกลงรอให้กะทิอุ่นๆแล้วอบด้วยควันเทียน

      5. ตักทับทิมกรอบใส่ถ้วยพร้อมมะพร้าวกะทิหรือมะพร้าวอ่อนขุดเป็นเส้น วุ้นกิทิ หรือตามใจชอบเติมน้ำเชื่อม ใส่น้ำแข็งบด แล้วราดด้วยกะทิสด พร้อมเสิร์ฟ

ขนมเปียกปูน


สูตรขนมเปียกปูน(ใบเตย)

ส่วนผสม

    - แป้งเท้า 70 กรัม

    - แป้งข้าวเจ้า 325 กรัม

    - น้ำตาลทราย 300 กรัม

    - น้ำตาลปีบ 500 กรัม

    - ใบเตยขูด 150 กรัม

    - มะพร้าว(ทีนทึก)ขูด 100 กรัม

    - น้ำปูนใส 6 ถ้วย

    - เกลือป่น 1/2 ช้อนชา

วิธีทำ
1. นำส่วนผสมของแป้งเท้า แป้งข้าวเจ้า น้ำตาลปีบ และน้ำตาลทรายมาผสมรวมเข้าด้วยกัน

2. นำใบเตยไปโขลกเมื่อเสร็จแล้วให้นำไปผสมรวมกับน้ำปูนใส1ถ้วยคนให้เข้ากันแล้วใช้ผ้าขาวบางกรอง

3.นำส่วนผสมที่ได้จากการผสมแป้งในข้อที่1มานวดกับน้ำปูนใสที่ได้จากข้อที่ 2 ให้เข้ากันแล้วใช้ผ้าขาวบางกรองอีกครั้งหนึ่ง

4. นำแป้งที่ได้ใส่ในกะทะทองกวนจนกว่าแป้งเหนียว เสร็จแล้วเทใส่ถาดพักให้เย็น ตัดแบ่งออกเป็นชิ้น โรยหรือรองด้วยมะพร้าวทึนทึกขูดคลุกเกลือ

-หมายเหตุ
- น้ำปูนที่ใช้ควรแช่ไว้อย่างน้อย 3 วัน โดยใช้อัตราส่วนของปูนแดงหรือปูนขาว 1 ส่วน ต่อ น้ำ 3 ส่วน แช่ในภาชนะพลาสติก หรือภาชนะเคลือบก้อได้ น้ำทีใช้จะเป็นน้ำที่เราตักเอาแต่ใสๆ
- เทคนิคการกวนที่ถูกวิธีคือกวนไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อจะได้แป้งที่เหนียว

วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บัวลอย



สูตรขนมบัวลอย

ส่วนผสม(1)

- แป้งข้าวเหนียว ½ ถ้วยตวงต่อน้ำผัก และดอกไม้ ¼ ถ้วย

- น้ำใบเตย น้ำอัญชัน น้ำกุหลาบ ขมิ้น หรือสีอื่นๆตามที่ต้องการ อย่างละ ¼ ถ้วย


วิธีทำ

นำแป้งข้าวเหนียว และน้ำอุ่น และน้ำใบเตย น้ำกุหลาบ และน้ำดอกอัญชัน (แยกใส่เพื่อให้ได้สีตาม

ต้องการ) จากนั้นคลุกเคล้าและนวดรวมผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วปั้นเป็นลูกกลม ๆ ตามต้องการ


ส่วนผสมของน้ำผสมบัวลอย (2)

- หัวกะทิ 500 มิลลิลิตร

- หางกะทิ 300 มิลลิลิตร

- น้ำตาลทราย 250 กรัม

- เกลือป่น 2 ช้อนชา


วิธีทำ2

 นำส่วนผสมทั้งหมดใส่หม้อแล้วตั้งไฟพอเดือด หรือจนกระทั่งน้ำตาลละลายเป็นอันใช้ได้

วิธีต้มบัวลอย

เมื่อได้แป้งบัวลอยสีตามต้องการแล้ว จากนั้นให้นำไปคลุกกับแป้งข้าวเหนียวบาง ๆ แล้วนำไปต้มในน้ำ

เดือด วิธีการสังเกตดูว่าถ้าแป้งบัวลอยสุกจะลอยขึ้นมาเป็นอันใช้ได้ ตักชามเสิร์ฟราดด้วยน้ำกะทิอุ่นที่

เตรียมไว้พอท่วม ถ้ามีเนื้อมะพร้าวอ่อนใส่ลงไปด้วยก็อร่อยมากยิ่งขึ้น

วุ้นกะทิ



สูตรขนม วุ้นกะทิ

เครื่องปรุง + ส่วนผสม (แบ่งเป็น 2 ส่วน)

1) ส่วนผสมตัววุ้น

    - วุ้นผง 2 ช้อนโต๊ะ

    - น้ำเปล่า 5 1/2 ถ้วยตวง

    - น้ำตาลทรายขาว 1 ถ้วยตวง

    - น้ำใบเตย,น้ำกาแฟ หรือสีผสมอาหาร (จะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้)



2) ส่วนผสมหน้าวุ้น 

    - วุ้นผง 2 ช้อนโต๊ะ

    - น้ำมะพร้าว 2 1/2 ถ้วยตวง

    - น้ำตาลทรายขาว 1 ถ้วยตวง

    - หัวกะทิ 2 1/2 ถ้วยตวง

    - แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะ

    - เกลือ 1 1/2 ช้อนชา

    - แม่พิมพ์สำหรับใส่วุ้น (ถ้วยหรือชามเล็กๆ ก็สามารถใช้แทนกันได้)



วิธีทำ


1. ทำตัววุ้นโดย ใส่ผงวุ้นและน้ำเปล่า ลงในกระทะทองเหลืองแล้วนำไปต้มจนผงวุ้นละลาย (หมายเหตุ :     สามารถใส่น้ำใบเตยเพื่อทำวุ้นกะทิใบเตยหรือ น้ำกาแฟเพื่อทำวุ้นกะทิกาแฟ หรืออาจใส่ สีผสมอาหาร     เพื่อให้ได้สีที่ต้องการสำหรับตัววุ้น)

2. ใส่น้ำตาลทรายลงไป คนให้ละลายดีจึงหรี่ไฟเบาลง

3. ตักส่วนผสมตัววุ้นลงไปในแบบพิมพ์ที่เตรียมไว้ โดยหยอดให้ได้ประมาณ 3/4 ของแบบ และปล่อยไว้       ให้วุ้นจับตัวพอตึง

4. ระหว่างรอตัววุ้นแข็ง เตรียมทำหน้าวุ้นโดย ใส่ผงวุ้นและน้ำมะพร้าว ลงในกระทะทองเหลืองแล้วนำไป    ต้มจนผงวุ้นละลาย

5. จากนั้นจึงใส่แป้งข้าวโพด, หัวกะทิ (ประมาณ 1/2 ถ้วยตวง) และ เกลือลงไปในส่วนผสมหน้าวุ้น คน         อย่างต่อเนื่องจน ส่วนผสมละลายเข้ากัน

6. ใส่หัวกะทิที่เหลือลงไป คนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี จากนั้นจึงนำส่วนผสมของหน้าวุ้นไปหยอดใส่     พิมพ์ให้เต็มอย่างปราณีต (พิมพ์ต้องใส่ตัววุ้นก่อน และต้องรอจน ตัววุ้นแข็งพอตึงๆก่อน มิเช่นนั้นตัววุ้น     และหน้าวุ้นจะผสมกัน)

7. เมื่อหน้าวุ้นและตัววุ้นแข็งดีแล้วก็ให้เคาะออกจากแบบ จัดใส่จานและเสริฟได้ทันที

กล้วยบวดชี

สูตรขนมหวานไทย : กล้วยบวดชี 

ขนมหวานไทย : กล้วยน้ำว้าเครื่องปรุง + ส่วนผสม

     - กล้วยน้ำว้า 8 ลูก (เลือกห่ามๆ ไม่สุกมาก)

     - หัวกะทิ 450 มิลลิลิตร

     - หางกะทิ 500 มิลลิลิตร

     - ใบเตย 2 ใบ

     - น้ำตาลปี๊บ 40 กรัม

     - น้ำตาลทรายขาว 40 กรัม

     - เกลือ



วิธีทำ

     1. นำกล้วยไปนึ่งในน้ำเดือดประมาณ 3-5 นาที หรือนึ่งจนกระทั่งผิวกล้วยเริ่มแตกออก ปิดไฟและ

        นำออกมาปอกเปลือกและหั่นครึ่งลูก จากนั้นจึงหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ


     2. นำหางกะทิไปต้มในหม้อและใส่ใบเตยลงไปด้วย เมื่อเดือดแล้วจึงใส่กล้วยที่หั่นไว้แล้วลงไป ตาม

        ด้วยน้ำตาลปี๊บ, น้ำตาลทรายขาวและเกลือเล็กน้อย


     3. เมื่อกะทิเริ่มเดือดอีกครั้งจึงใส่หัวกะทิลงไป และปล่อยทิ้งไว้ให้เดือดอีกประมาณ 3 นาที 

         ถ้าต้องการให้น้ำข้นเหนียวก็ให้ใส่แป้งมันลงไปประมาณ 1 ช้อนชาและคนให้ละลายทั่ว


     4. อย่าต้มนานจนเกินไปเพราะจะทำให้กล้วยเละ กล้วยควรจะยังแข็งนิดหน่อย จากนั้นตักใส่จาน   

         พร้อมเสริฟทันที

ขนมไทย



ขนมไทย เป็นของหวานที่นิยมทำและรับประทานกันในประเทศไทย สะท้อนถึงเอกลัษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติ โดยแสดงถึงความละเอียดอ่อน ความพิถีพิถัน และความปราณีตตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบ จนถึงขึ้นตอนการทำอย่างกลมกลืนของศาสตร์และศิลป์ ส่งผลให้ขนมไทยโดดเด่นในด้านรสชาติที่อร่อยหอมหวาน สีสัน รูปลักษณ์ สวยงาม ชวนน่ารับประทาน เป็นที่ต้องตาต้องลิ้นแก่ผู้บริโภคทั้งชาวไทย และชาวต่างชาต


ปัจจุบันขนมไทย สอดแทรกอย่างกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประจำชาติ มีบทบาทสำคัญในพิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานบุญ งานเทศกาล หรือประเพณี ที่สำคัญ อันสะท้อนถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละชุมชนได้เป็น อย่างดี นอกจากนั้นขนมไทยยังแอบซ่อนความหมายอันเป็นมงคลไว้อย่างน่า สนใจ ไม่ว่าจะเป็นงานวันเกิด งานขึ้นบ้านใหม่ หรืองานแต่งงาน ก็จะมีขนมไทย ความหมายดีๆ ประกอบอยู่ในพิธีอย่างขาดเสียไม่ได้ (เช่น ขนมถ้วยฟู มีความ หมายแฝงคือ การเฟื่องฟู / ขนมชั้น แสดงถึงการได้เลื่อนขึ้นชั้น เลื่อนตำแหน่ง เจริญก้าวหน้า เป็นต้น)
ขนมหวานไทย : ทองหยอด
ขนมหวานไทย : ขนมเบื้อง


ขนมไทยอาจแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มหลักคือ



           1. ขนมชาววัง : เป็นขนมไทยที่ใช้ความละเมียดละไม ประดิดประดอยหลาย ขั้นตอน สูตรต้นตำหรับเกิดจากการค่านิยมที่คนสมัยก่อนมักส่งลูกหลานที่ เป็นผู้หญิงเข้าไปในวัง เพื่อถวายตัวรับใช้เจ้านายในตำหนักต่างๆ โดยมีการฝึกฝน ฝืมือด้านต่างๆอย่างวิถีของชาววัง รวมถึงการฝีกทำอาหารและขนมด้วย ขนมไทย ชาววังจึงขึ้นชื่อในเรื่องของความละเอียด ประณีต พิถีพิถันในทุกขั้นตอนของการ ทำรวมถึงการเลือกใช้วัตถุดิบ ตัวอย่างของขนมชาววังได้แก่ ขนมลูกชุบ ขนมเบื้อง วุ้นกะทิ วุ้นสังขยา ขนมไข่เหี้ย เป็นต้น


         2. ขนมชาวบ้าน (หรือขนมตามฤดูกาล) : เป็นขนมไทยที่ทำง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมาก วัตถุดิบที่ใช้ มักจะเป็นผลไม้ที่หาได้ตามฤดูกาล มักทำกันทานภายในครัวเรือน โดยเน้นทำกิน เอง เหลือก็สามารถนำไปขายได้ ตัวอย่างของขนมชาวบ้าน ได้แก่ ฟักทองเชื่อม กล้วยไข่เชื่อม กล้วยตาก เป็นต้น นอกจากผลไม้ที่หาได้ตามฤดูกาลแล้ว วัตถุดิบ หลักอื่นๆที่ใช้ก็มักจะเป็นสิ่งที่หาได้ง่าย เช่นข้าวเจ้า ข้าวเหนียว มะพร้าว นำมาผสม กับน้ำตาล ทำเป็นขนมได้หลากชนิด ไม่ว่าจะเป็นขนมเปียกปูน ขนมจาก ขนมขี้หนู ตะโก้ ขนมน้ำดอกไม้ และอื่นๆอีกมากมาย สำหรับผลไม้ที่เหลือเกินรับประทาน ก็จะนำมาถนอมอาหารด้วย ภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อให้สามารถเก็บไว้กินได้นานๆ เช่น ทุเรียนกวน มะม่วงกวน กล้วยตาก กล้วยฉาบ เป็นต้น
ขนมหวานไทย : ขนมน้ำดอกไม้
ขนมหวานไทย : กล้วยบวดชี
   

             3. ขนมไทยที่ใช้ในงานประเพณี และศาสนา : ขนมไทยในกลุ่มนี้จะสอดแทรกอยู่ ในงานประเพณีต่างๆ รวมถึงงานบุญทางศาสนาด้วย ตัวอย่างเช่น ในประเพณีปีใหม่ ของไทย (วันสงกรานต์) นอกจากมีการทำบุญตักบาตร รดน้ำดำหัวแล้ว คนไทยใน สมัยโบราณนิยมทำขนม กาละแมร์ และข้าวเหนียวแดงเพื่อถวายพระและแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านอีกด้วย นอกจากนั้น ในช่วงวันสารทไทย ก็มักจะนิยมทำขนม "กระยาสารท" เพื่อทำบุญ รำลึกถึงบรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว โดยจะตักบาตรด้วยกระยาสารทที่ตัดเป็นชิ้นๆแล้ว ห่อด้วยใบตองคู่กับกล้วยไข่เป็นของแกล้มกัน


           4. ขนมไทยที่ใช้กับงานมงคล
: งานมงคลต่างๆ มักจะมีขนมไทยความหมายดีๆ ประกอบอยู่ในพิธีอย่างขาดเสียมิได้ ไม่ว่าจะเป็นงานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ โดยงานมงคลเหล่านี้มักจะมีการทำบุญเลี้ยงพระ ตัวอย่างขนมไทยที่ใช้ในงานมงคลได้แก่ ขนมชั้น เม็ดขนุน ขนมถ้วยฟู ขนมปุยฝ้าย เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีขนมที่มีคำว่าทองทั้งหลาย เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองเอก ทองพลุ เพื่อมีความหมายนัยว่า เงินทองจะได้ไหลมาเทมา ส่วนเม็ดขนุนก็สื่อถึงการทำภารกิจใดๆ ก็จะลุล่วงไปได้ ด้วยดี มีคนช่วยเหลือสนับสนุนให้งานสำเร็จ ขนมถ้วยฟู / ปุยฝ้าย สื่อถึงความเฟื่องฟู ส่วนในงานฉลองเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง ก็มักจะมีขนมจ่ามงกุฏ เพื่อสื่อถึงยศตำแหน่ง ที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น